ช่วงนี้มีข่าวโปรโมทเกี่ยวกับ การแต่งตั้ง อดีตสันตะปาปา องค์หนึ่งเป็น
"บุญราศรี"
เนื่องจากมีข่าวลือว่า วิญญาณ หรือศพ
หรืออะไรบางอย่างของนักบวชชาวคริสต์ที่ตายไปแล้วสามารถทำปาฏิหาริย์ได้
หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เป็นความดี ที่ทำให้เขาเหมาะสมเป็นบุญราศรี
คำว่า "บุญราศรีแปลว่าเป็นภาษาไทย เข้าใจง่ายๆ แปลว่าอะไรครับ
ตามความเข้าใจของผม ผมเปิดเว็บดิกชั่นนารีแห่งหนึ่ง เขาแปลว่าดังนี้ครับ
บุญราศี [บุน-ยะ-, บุน-] น. กองบุญ, การทำบุญเรื่องหนึ่งๆ เช่น
การทอดกฐิน การบวชนาค ฯลฯ แต่ละคราวเรียกว่า กองบุญ หรือบุญราศี.
http://www.online-english-thai-dictionary.com
เปิดดูแล้วฟังไม่ได้ความหมายอย่างที่ข่าวเขาพยายามจะบอกเลย
ขอเรียนท่านด๊อกเตอร์
หรือพี่น้องคริสตชนคนใดที่มีความรู้เรื่องนี้ช่วยตอบให้กระจ่างได้ไหมครับ
ขอบคุณครับ
Rice Mu.
http://reewat.blogspot.com
.................................................................
ตอบ ท่าน Rice Mu. ที่นับถือในพระคริสต์
ขออธิบายเพียงสังเขปนะครับ เรื่องของการแต่งตั้ง อดีตสันตะปาปา จอห์น
ปอลที่สอง เป็น "บุญราศรี" นั้น คำว่า "บุญราศี"
ในที่นี้มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "blessed" ซึ่งแปลตรงตัวก็น่าจะหมายถึง
เป็นผู้ที่ได้รับพรจากพระเจ้า
ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ศาสนจักรคาทอลิกจะแต่งตั้งให้กับผู้ที่ทางศาสนจักรคาดหวังที่จะสถาปนาให้เป็นตำแหน่ง
"เซ๊นท์" (Saint) หรือนักบุญ เป็นอันดับต่อไปภายหลัง
เพียงแต่รอเวลาตรวจสอบว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเป็นเซ๊นท์เสียก่อน
ซึ่งในยุคหลังต้องใช้เวลาตรวจสอบหลายปีกว่าจะสถาปนาบุคคลใดเป็นเซ๊นท์ได้
รายละเอียดในเรื่องนี้ยังมีอีกพอสมควร ขอดูรายละเอียดดังเนื้อความต่อไปนี้
***************************************************
เส้นทางสู่การเป็นนักบุญ
The Road to Sainthood
God Discussion
March 24 , 2011
เส้นทางสู่การเป็นนักบุญ : อดีตพระสันตะปาปาจอห์นปอลที่ 2
จะได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศี ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2011
ตามรายงานจากวาติกัน ก่อนการประกาศแต่งตั้งเป็นบุญราศี
สรีระสังขารของสันตะปาปาจะถูกเคลื่อนย้ายไปยังวัดน้อย Chapel of St.
Sebastian ภายในขอบเขตของมหาวิหาร Basilica St. Peters
การแต่งตั้งเป็นบุญราศี เป็นก้าวสำคัญในการได้รับเลือกประกาศเป็นนักบุญ
คาทอลิกสร้างสรรนักบุญอย่างไร ?
ตามกฎเกณฑ์ของศาสนจักรคาทอลิกที่วางไว้
มันเป็นหนทางยาวไกลไปสู่การแต่งตั้งเป็นบุญราศีก่อน
แล้วจึงได้รับการประกาศเป็นนักบุญ เพราะว่า ต้องมีข้อพิสูจน์แข็งแกร่งว่า
ผู้ที่อยู่ในรายชื่อรอนั้น ได้เจริญชีวิตศักดิ์สิทธิ์
และสามารถเป็นวีรบุคคลโดดเด่นสำหรับสัตบุรุษทั่วไป ขั้นตอนรวมๆ
ซึ่งยังมิได้รวมรายละเอียดใดๆ มีดังต่อไปนี้ :
1. สัตบุรุษเสนอว่า คนใดคนหนึ่งเป็นนักบุญ
และพวกเขาร้องขอให้พระสังฆราชสังฆมณฑลเริ่มกระบวนการตามระบบวิธีปฏิบัติ
2. พระสังฆราชแต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งรวบรวมและทบทวนตรวจสอบเอกสาร
ที่พิสูจน์ด้วยความจริงว่า ผู้รับเสนอชื่อผู้นั้น
เจริญชีวิตศักดิ์สิทธิ์จริง
3. รายงานของคณะกรรมการถูกส่งไปยังสมณกระทรวงว่าด้วยการแต่งตั้งนักบุญที่วาติกัน
ซึ่งจะตรวจสอบทบทวนประวัติชีวิตของผู้ได้รับการเสนอเป็นนักบุญ
เพื่อตกลงว่า ความโดดเด่น ซึ่งต้องเกินขอบเขตคริสตชนดีๆธรรมดา
ได้แสดงให้เห็นประจักษ์
4. อัศจรรย์อย่างหนึ่งต้องเสนอประกอบเรื่องมาด้วย
ซึ่งอัศจรรย์นั้นได้เกิดขึ้น
หลังจากท่านผู้นั้นถูกแต่งตั้งเป็นบุญราศีแล้ว
5. ผู้เชียวชาญ 60 คนในคณะแพทย์
ต้องพยายามให้คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของการบำบัดรักษาอย่างน่าอัศจรรย์ต่อโรค
ซึ่งการบำบัดรักษานั้นต้องเกิดทันทีทันใด
เข้าใจได้และยืนยงจนมีคุณลักษณะประหนึ่งอัศจรรย์ และอัศจรรย์นั้น
ต้องมีการกระทำ ในชื่อของผู้ถูกเสนอให้เป็นนักบุญ
และไม่มีนักบุญอื่นหรือคนอื่นอีก
6. ผู้ถูกเสนอนั้น ได้รับแต่งตั้งเป็นบุญราศีแล้ว ซึ่งเป็นบรรไดขั้นต้น
7. สำหรับการพิจารณาประกาศเป็นนักบุญ
อัศจรรย์ที่สองต้องได้รับการพิสูจน์ ยกเว้นกรณีของมรณสักขี
ตามรายงานของโรม(Rome Reports)
ขณะนี้มีกรณีขอประกาศเป็นนักบุญเข้าชื่อรออยู่ประมาณ 2,000 กรณี
กระบวนการแต่งตั้งเป็นบุญราศีและประกาศเป็นนักบุญ
Process of Beatification and Canonization
พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกประกาศนักบุญอย่างไร?
ตามข้อกำหนดของสังฆธรรมนูญ (Apostolic Constitution) Divinus
Perfectionis Magister ที่ประกาศ 25 มกราคม 1983 และสาส์นสันตะสำนัก
Normae Servandae ที่ประกาศ 7 กุมภาพันธ์ 1983 ตามลำดับ เหตุ (Causa หรือ
Cause)ประกาศเป็นบุญราศี อาจริเริ่มโดยผู้ยื่นร้องขอหรือ actor กำหนด 5
ปีหลังความตายของผู้นั้น โดยสาเหตุ in fama sanctitatis
(ด้วยชื่อเสียงความศักดิ์สิทธิ์) หรือโดยสาเหตุ in odium fidei uti
fertur (โดยสันนิฐานถูกฆ่าตายเพราะความเกลียดชังสำหรับความเชื่อ)
ของคาทอลิกผู้ถือตามความเชื่อ หนึ่งคนหรือหลายคน ผู้ยื่นร้องขอ หรือ
actor อาจเป็นเอกัตถบุคคล หรือ เท่าที่ปฏิบัติทั่วไป เป็นกลุ่มคน (เช่น
วัด คณะบุคคลทางศาสนา สังฆมณฑล สมาคมสัตบุรุษฆราวาส
หรือแม้องค์กรพลเรือน) ที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่ศาสนจักร
ซึ่งภาระหน้าที่ คือช่วยทางการเงินหรือสนับสนุนองค์กรนี้ อย่างไรก็ดี
พระสันตะปาปาพระองค์เองสามารถผ่อนปรนช่วงเวลารอห้าปีตามกำหนดให้สั้นลง
เช่น กรณีคุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตา และสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2
Actor ต้องตั้ง Postulator(ผู้ยื่นเรื่องราวขอแต่งตั้ง)
ซึ่งเป็นที่ยอมรับเป็นทางการจากพระสังฆราชท้องถิ่นซึ่งผู้รับใช้พระเป็นเจ้าถึงแก่อสัญกรรม
(ทางกฎหมายอ้างถึง คือ สังฆราชผู้ทรงอำนาจ หรือ competent bishop)
ผู้ยื่นเรื่องราวต้องเป็นนักกฎหมายของสาเหตุ(causa) นี้ และเป็นตัวแทน
Actor ต่อหน้า CCS (Congregation for the Causes of Saints)
ซึ่งเป็นสำนักงานวาติกันที่มีอำนาจหน้าที่ (Jurisdiction)
โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องเช่นนี้ ผู้ยื่นเรื่องราวอาจแต่งตั้ง
Vice-postulator ซึ่งทำการแทนภายในสังฆมณฑล เป็นภาระหน้าที่ของ Actor
โดยผ่าน Postulator ที่จะร้องขอพระสังฆราชผู้ทรงอำนาจ
ให้ประกาศเพื่อให้มีการพิจารณาคดีมรณกรรม(cinquest)ของสังฆมณฑลเป็นทางการในชีวิตของเขา/ของเธอหรือของพวกเขา
ในเวลาเดียวกัน CCS
จะระบุกำหนดเลขที่หนังสือสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่เรียกกันว่า Protocol
No. เพื่ออ้างอิงคดี ในกรณีสังฆราชสังฆมณฑลอื่นจะมาทำงาน
เพื่อเหตุผลที่รับมอบอำนาจถูกต้อง เหมือนที่พระสังฆราชผู้มีอำนาจพิจารณา
cause ของผู้ใด ซึ่งเสียชีวิตนอกเขตอำนาจของดินแดน(สังฆมณฑล)ของท่าน
พระสังฆราชองค์นี้ควรได้รับการแต่งตั้ง(decree)การทรงอำนาจ(competentia
fori) จาก CCS.
ตามสังฆธรรมนูญ Divinus Perfectionis Magister
ต้องให้พระสังฆราชผู้ทรงอำนาจปรึกษาหารือกับบรรดาพระสังฆราชของดินแดนเขตสังฆมณฑล
เกี่ยวกับที่จะถือเอาการริเริ่ม cause
เขาต้องพิมพ์เผยแพร่ทางสาธารณะซึ่งคำขอของ Postulator
และเชิญผู้เชื่อให้รายงานแก่เขา ซึ่งข้อมูลข่าวสารใดๆที่พวกเขาอาจมี
เกี่ยวกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า แล้ว ควรที่เขาจะตัดสินใจริเริ่ม cause
อย่างเป็นทางการนั้น สังฆราชผู้ทรงอำนาจ
ต้องแต่งตั้งมอบหมายผู้ทรงคุณวุฒิทางเทววิทยาสองคน ให้ตรวจสอบ
ทั้งข้อเขียนที่พิมพ์เผยแพร่แล้ว
และที่ยังมิได้พิมพ์ของผู้รับใช้พระเป็นเจ้า
ความคิดเห็นที่เข้าข้างเป็นประโยชน์จากพวกเขา จำเป็นที่จะดำเนินไปกับ
cause นี้ หลังจากนี้ เขาแต่งตั้ง Promotor (ทนายความเชื่อ)
เพื่อความเที่ยงธรรมคนหนึ่ง ซึ่งภาระหน้าที่คือ เขียน Questionaire
สำหรับพยาน โดยวางฐานกับทุกสิ่งที่รวบรวมมาเกี่ยวกับ cause นี้ สุดท้าย
พระสังฆราชผู้มีอำนาจต้องขอ decree Nihil Obstat จาก CCS
ซึ่งจะรับรองว่าไม่มีอะไรในบันทึกของสำนักวาติกันควรจะเมตตา
จะถูกแขวนเกี่ยวกับการวิจัยสอบสวนนั้น.
หลังจากได้รับ Nihil obstat สังฆราชผู้ทรงอำนาจหรือผู้แทนของท่าน
เรียกเอาและตรวจสอบพยานต่อศาลสังฆมณฑล (diocesan tribunal)
พยานก็จะรวมผู้คนซึ่งนำมาโดย postulator มาเป็นประจักษ์พยาน (eyewitness)
ในชีวิตของผู้รับใช้พระเป็นเจ้า
เหมือนผู้ซึ่งตรวจสอบข้อเขียนของเขา/ของเธอหรือของพวกเขา
พวกเขาจะถูกตรวจสอบซักถาม โดยในชั้นแรก(ไม่ใช่เพียงอย่างเดียว) ใช้
Questionaire ที่เขียนขึ้นโดย promotor justitiae หรือ promoter of
justice หลังจากนี้ สังฆราชผู้มีอำนาจต้องแสดงให้มั่นใจได้ว่า
ไม่มีวัฒนธรรมสาธารณะเข้ามาเกี่ยวกับสถานที่ฝัง
หรือแหล่งหลับของผู้รับใช้พระเป็นเจ้า เมื่อการพิจารณาคดี (inquest)
ของสังฆมณฑลทำเสร็จแล้ว สองสำเนาที่เชื่อได้เกี่ยวกับพฤติกรรมทั้งสิ้นของ
cause ที่เรียกว่า transumptum จะถูกส่งไปให้ CCS.
ตรงจุดนี้ CCS ยืนยัน decree ความถูกต้องสมบูรณ์ของการตรวจสอบ (inquest)
ของสังฆมณฑล เมื่อทำเช่นนี้ สมณกระทรวงฯจะแต่งตั้ง relator ในcause
ภาระหน้าที่ของ relator ที่ CCS แต่งตั้ง คือ
ตรวจตราควบคุมข้อเขียนและสิ่งพิมพ์ของ positio โดยการตั้ง collaborator
(ซึ่งอาจจะเป็นหรือไม่ใช่ตัว postulator เอง) Positio มีสองส่วน คือ (1)
Informatio ชีวประวัติละเอียดของผู้รับใช้พระเป็นเจ้า โดยวางฐานลงที่
transumptum และ (2) Summarium
การสอบทานคำให้การเป็นพยานหลักฐานของประจักษ์พยาน
ระหว่างการสอบสวนของสังฆมณฑล
และบรรดาเอกสารที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับกับชีวิตของผู้รับใช้พระเป็นเจ้า
มันจะถูกตรวจสอบโดยองค์กรผู้เชี่ยวชาญ 3 แห่ง - นักประวัติศาสตร์ -
นักเทววิทยาและ บรรดาพระสังฆราช - ซึ่งทำงานให้ CCS
และซึ่งการออกเสียงของพวกเขาจะเป็นตัวกำหนดตัดสินผลสุดท้ายของ cause
เมื่อองค์กรทั้งสามให้คำตกลงตัดสินเป็นหนึ่งเดียวกับ positio CCS
จะประกาศ decree เกี่ยวกับฤทธิ์กุศลชั้นยอด (heroic virtues)
หรือความเป็นมรณสักขี (martyrdom) ของผู้รับใช้พระเป็นเจ้า โดยปกติ
กฤษฎีกา (decree)
นี้จะทำเป็นทางการและประกาศต่อพระพักตร์พระสันตะปาปาในขณะมีการเข้าเฝ้าสาธารณะ
จากนั้นมา ผู้รับใช้พระเป็นเจ้าเริ่มอ้างอิงด้วยคำนำหน้าว่า Venerable (
ผู้น่าเคารพ )
ในกรณีมรณสักขี ที่ตามมาคือการกำหนดวันสำหรับการประกาศเป็นบุญราศีอย่างสง่า
อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ไม่ใช่มรณสักขี ต้องมี decree อีกแบบหนึ่ง
วาติกันต้องการว่า อัศจรรย์พิเศษสุดเรื่องหนึ่ง (one exceptional
miracle) ต้องนำมาพิสูจน์ว่า ได้กระทำขึ้น ด้วยการนำเสนอขอ
ของบุญราศีนั้น เมื่อพบเรื่องนี้แล้ว postulator และสังฆราชสังฆมณฑล ณ
ที่ซึ่งอัศจรรย์เกิดขึ้น ต้องขอให้ CCS เป็นผู้ดำเนินการสอบสวน
บันทึกทุกอย่างที่รวบรวมมาระหว่างการสอบถาม ต้องถูกนำส่งไปยัง CCS
ซึ่งจากนั้นจะแต่งตั้งหน่วยงานแพทย์หรือคณะนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงคุณภาพ
ที่เรียกว่า consulta medica ให้ตัดสินความเหนือธรรมชาติ
การตัดสินเข้าข้างจากหน่วยงานนี้
จะถูกนำเสนอไปยังนักเทววิทยาและสังฆบุคคลของ CCS
องค์พระสันตะปาปาซึ่งให้การรับรองเป็นทางการ แสดงการรับรู้ของพระองค์
ผ่าน decree ก็เพียงต่อจากนั้น
การประกาศแต่งตั้งเป็นบุญราศีสามารถกำหนดได้ในที่สุด.
โดยปกติ การประกาศแต่งตังเป็นบุญราศีจะกระทำที่โรม
พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 จัดฉลองจารีตพิธีเหล่านี้
ในประเทศที่ผู้รับแต่งตั้งเป็นบุญราศีดำเนินชีวิต ทำงานหรือถึงแก่กรรม
ตั้งแต่ปี 1971 ถึง 2004 พระสันตะปาปาเองทำพิธีเป็นทางการ จนกระทั่ง
พระคาร์ดินัลที่แต่งตั้งโดยพระสันตะปาปามาเป็นประธานในพิธี
หลังการทำพิธีอย่างสง่า องค์บุญราศีก็จะมีคำ Blessed นำหน้า อย่างไรก็ดี
การให้ความเคารพบุญราศีดังกล่าว
จะจำกัดโดยกฎหมายในกรอบอำนาจของศาสนจักรหรือชุมชนคริสตชน
สำหรับบุญราศีที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นนักบุญ actor ของ causa (cause)
ต้องได้อัศจรรย์ชั้นยอดมาอีกหนึ่งเรื่อง
ที่เกิดหลังประกาศเป็นบุญราศีแล้ว
กระบวนการสอบสวนอัศจรรย์ก่อนการเป็นบุญราศีต้องซ้ำอีกครั้ง
เมื่อกฤษฎีกาเรื่องนี้ประกาศออกไป
คณะกรรมการพิเศษที่ประกอบด้วยพระสันตะปาปาและพระคาร์ดินัล
จะถูกเรียกมากำหนดวันประกาศเป็นนักบุญเอง หลังพิธีการนี้เสร็จ
แต่นี้ไปบุญราศีก็จะเป็น Saint หรือ นักบุญ
และถูกนำเสนอต่อศาสนจักรทั้งครบ ให้แสดงความคารวะ
และความเป็นแบบอย่างต่อไป.
ที่มา : จดหมายข่าวคริสตชน 2 พ.ค. ค.ศ.2011
แหล่งเพิ่มเติม คลิก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ