การส่งมิชชั่นนารีไปต่างแดน
ในบรรดาการเข้าสู่สากลทั้งหมดที่คริสตจักร ไทยมีส่วน สิ่งที่ถือว่าก้าวหน้าที่สุดก็คือการส่งมิชชันนารีคนไทยไปทำพันธกิจในต่าง ประเทศ เป็นที่น่าขอบคุณพระเจ้าที่คริสตจักรไทยหลายแห่งมีภาระใจในพันธกิจด้านนี้ มากขึ้นเรื่อยๆ
ค.ศ.1956-1958 คริสตจักรมารานาธา ได้ส่งมิชชันนารีไทยไปประเทศลาว 2 ปี
ค.ศ.1963 (หรือ 1964) นักศึกษาพระคริสตธรรมที่เชียงใหม่ได้ตั้งองค์การ Thailand Overseas Missionary Society ส่งมิชชันนารีไทยไปทำงานที่ซาราวัค ประเทศมาเลเซีย นับเป็นการส่งมิชชันนารีไปปฏิบัติพันธกิจต่างประเทศครั้งแรก ตามโครงการนี้มีมิชชันนารีไทยไปปฏิบัติงานรวม 3 ท่าน ในระยะหลังต่อมา แม้ว่าจะมีโครงการอยู่แต่การทำพันธกิจด้านนี้ยังไม่เด่นชัดเหมือนการจัดส่ง มิชชันนารีไปต่างประเทศในระยะเริ่มแรก
ค.ศ.1977 ศิษย์เก่าศูนย์พระคริสตธรรมพะเยา ตั้งองค์การเสริมสร้างคริสตจักรไทยขึ้น มีจุดมุ่งหมายที่จะทำงานกับพี่น้องชาวไทยภูเขา
ค.ศ.1978 คริสตจักรอิมมานูเอล ส่งผู้รับใช้ไปประกาศกับคนเขมรในชายแดนภาคตะวันออกของไทย
ค.ศ.1988 คริสตจักรเจริญกรุงไมตรีจิต ส่งคุณสุรีย์ แอนเดอร์สันไปเป็นมิชชันนารีกับองค์การวิทคลิฟ ในอินโดนีเซีย
คริสตจักรนิมิตใหม่ส่ง อ.พงศักดิ์ อังศธราธร ไปเป็นมิชชันนารีในประเทศจีน และอีกท่านหนี่งไปรัสเซีย
ค.ศ. 1994 คริสตจักรไมตรีจิตส่ง อ.วิชาและอ.ซู่ซิ่น ชานวิทิตกุลไปเป็นมิชชันนารีที่ประเทศฮ่องกง โดยไปถึงประเทศฮ่องกงในวันที่ 29 มกราคม 1994 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างคริสตจักรต่างๆ ในภาค 12 มิชชั่นไมตรีจิต ร่วมกับคริสตจักรจีนที่ฮ่องกง
คริสตจักรความหวังกรุงเทพตั้งคริสตจักรลูกในต่างประเทศเช่นกัน เช่น ที่สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย
คริสตจักรสะพานเหลืองเป็นอีกคริสตจักรหนึ่ง ที่มิชชันนารีไทยไปทำพันธกิจกับคนไทยในต่างแดนหลายท่าน ในปีค.ศ.2004 มีมิชชันนารี 6 ท่านรับใช้พระเจ้าอยู่ใน 3 ประเทศ ได้แก่ ปี 1994 ได้ส่งอาจารย์สุทธิพร ทัศนวิญญู ไปประกาศกับคนไทยในสิงคโปร์ภายหลังเดินทางกลับมาทำพันธกิจในประเทศไทยเพื่อ รองรับผู้เชื่อไทยจากพันธกิจเดิมที่ทำไว้ในสิงคโปร์ และประกาศพระกิตติคุณแก่พี่น้องย่านรามคำแหง, อ.ศราวุธและอ.เรวดี ชอบธรรมกรุณา รับใช้พระเจ้าที่ประเทศสิงคโปร์ โดยประกาศพระกิตติคุณแก่พี่น้องแรงงานไทย การทำพันธกิจในสิงคโปร์นี้เป็นการร่วมมือระหว่างคริสตจักรสะพานเหลืองกับคริ สตจักรเชนลี (Chen-Li Presbyterian Church) ประเทศสิงคโปร์ และได้ตั้งคริสตจักรไทยขึ้นมาชื่อว่า “คริสตจักรไทย-เชนลี”
นอกจากนี้ ในปี 1999 ได้ส่งอาจารย์นิพนธ์ อุระคิริมาศ รับใช้พระเจ้าที่ประเทศพม่า ทำงานกับพี่น้องพม่าเชื้อสายจีนในด้านการประกาศพระกิตติคุณ และการอบรมผู้นำ และร่วมเปิดคริสตจักร 2 แห่ง
ปี 1999 ส่งอาจารย์ทิพวัลย์ ตรีวิจิตรเกษม ไปรับใช้พระเจ้าที่ประเทศจีน ทำพันธกิจร่วมกับ Project Grace ในด้านการอบรมผู้นำและเป็นพยานส่วนตัวกับนักศึกษาและบรรดาผู้นำทั้งหลาย และยังได้ส่งอาจารย์ศิริพรสืบทายาท ไปรับใช้พระเจ้าที่ประเทศเกาหลีใต้ โดยประกาศพระกิตติคุณกับแรงงานไทยที่นั่น โดยร่วมมือกับคริสตจักรซูวอนในเกาหลีใต้,
คริสตจักรใจสมานเปิดคริสตจักรไทยในฮ่องกง มีสมาชิกประมาณ 150 คน(ข้อมูลปี 1996) อ.วิภาวรรณ ธีระเศรษฐ์มานะกุล เป็นศิษยาภิบาล คริสตจักรชื่อว่า อินเตอร์เนชั่นแนลคริสเตียนแอสเซมบลี้ และในปี 1994 ได้ร่วมกับคริสตจักรคาวารีคาริสเมติกเซ็นเตอร์ในประเทศสิงคโปร์ ส่ง อ.เกียรติศักดิ์ รุ่งรวิวรรณ และครอบครัวไปเป็นมิชชันนารีเพื่อทำงานกับคนไทยในประเทศสิงคโปร์ โดยมุ่งเน้นไปที่แรงงานไทยและผู้ช่วยแม่บ้าน สถานที่ประชุมก็คือที่คาลวารีคาริสเมติกเซ็นเตอร์ นอกจากนี้คริสตจักรใจสมานยังสนับสนุนพี่น้องชาวลาวคนหนึ่งชื่อคุณมณีวรรณ โอชารส ให้รับใช้ที่เวียงจันทร์ ประเทศลาว ตั้งแต่ปี 1992-1994 เธอเสียชีวิตในปี 1994 คริสตจักรนี้คือคริสตจักรข่าวประเสริฐ
ปัจจุบันคริสตจักรไทยกำลังตื่นตัวในการจัด ส่งมิชชันนารีออกไปทำงานในประเทศต่างๆ รอบบ้านเรา บางคริสตจักรก็จัดส่งมิชชันนารีเอง บางคริสตจักรก็รวมตัวกันเป็นกลุ่มๆ จัดส่งมิชชันนารี เป็นการช่วยกันแบกภาระต่างๆ ดังนั้นการจัดส่งมิชชันนารีในปัจจุบันจึงยังเป็นแบบต่างคนต่างทำ ผู้นำคริสเตียนไทยกลุ่มหนึ่งจึงได้ร่วมกับทางโอเอ็มเอฟ จัดตั้งคณะกรรมการที่ทำงานเฉพาะเกี่ยวกับมิชชันนารีขึ้น เรียกว่า “คณะกรรมการสรรหามิชชันนารีไทย โอเอ็มเอฟ” ซึ่งคณะกรรมการนี้ประกอบด้วยบุคคลจากคณะนิกายต่างๆ หลายคณะมาทำงานร่วมกับโอเอ็มเอฟ ทางโอเอ็มเอฟก็เป็นองค์การนานาชาติที่จัดส่งมิชชันนารีไปทำพันธกิจในประเทศ ต่างๆ โดยไม่เลือกว่ามิชชันนารีคนนั้นเป็นเชื้อชาติและคณะนิกายใด โอเอ็มเอฟมีการดำเนินการเช่นเดียวกันนี้ในประเทศอื่นๆ มาแล้ว เช่น ในเกาหลีก็มีคณะกรรมการสรรหามิชชันนารีเกาหลี โอเอ็มเอฟ ในสิงคโปร์ก็มีคณะกรรมการสรรหามิชชันารีสิงคโปร์ โอเอ็มเอฟ
ปัจจุบัน ณ ปี ค.ศ.2004 คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วย ศจ.สมศักดิ์ ชูสงฆ์ เป็นประธาน กรรมการท่านอื่นๆ ประกอบด้วย อ.ดนัย อีเรียน ผป.อนุสรณ์ บุญอิต ศจ.มนูญศักดิ์ กมลมาตยกุล ศจ.ดร.กมล อารยประทีป มน.ทวีศักดิ์ มหชวโรจน์ ผป.วิชัย ตรังคสมบัติ ศจ.ดร.วินิจ วงศ์สรรเสริญ อ.ทองหล่อ วงศ์กำชัย ศจ.ดร.ประชา ไทยวัชรามาศ อ.ชุมแสง เรืองเจริญสุข อ.เดวิท ปิคาร์ด
คณะกรรมการนี้มีหน้าที่สำคัญๆ 4 ประการคือ (1) เป็นผู้ประสานงานและสนับสนุนคริสตจักรที่ต้องการส่งคนออกไปเป็นมิชชันนารี (2) ทำหน้าที่สรรหา กลั่นกรอง และคัดเลือกบุคลากร ที่จะเป็นมิชชันนารี โดยพิจารณาตามระเบียบและกฎเกณฑ์มาตรฐานของโอเอ็มเอฟ (3) ให้การฝึกอบรม เตรียมบุคลากรที่จะไปเป็นมิชชันนารี รวมทั้งให้ความรู้ด้านพันธกิจมิชชั่นแก่คริสตจักรต่างๆ (4) ดูแลติดตามการปฏิบัติงานของมิชชันนารีไทยที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในขณะปฏิบัติงาน โดยติดต่อผ่านสายงานของโอเอ็มเอฟ ปัจจุบันคณะกรรมการนี้ได้ส่งครอบครัว อ.นรินทร์ และ อ.วิไลรัตน์ ศรีทันดร ไปเป็นมิชชันนารีในประเทศกัมพูชา
จากที่กล่าวมา เราจะพบว่า การส่งมิชชันนารีไปต่างแดนของคริสตจักรไทย มีสองแบบด้วยกันคือ ส่งคนไทยไปเป็นมิชชันนารีต่างประเทศเพื่อประกาศและตั้งคริสตจักรกับคนไทย ด้วยกัน กับการไปประกาศและตั้งคริสตจักรกับคนชาตินั้นๆ ในขณะนี้คริสตจักรไทยได้เริ่มส่งมิชชันนารีทั้งสองแบบแล้ว แต่จะเน้นที่แบบแรกคือไปทำพันธกิจกับคนไทยด้วยกันเองมากกว่า
โดยภาพรวมแล้วเราต้องยอมรับว่า คริสตจักรไทยยังส่งมิชชันนารีน้อยมาก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็น่าจะมาจากเหตุผลสามประการคือ ประการแรก คนไทยเรายังมีข้อจำกัดในด้านภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาจีน ซึ่งเป็นภาษากลางระหว่างชาติ ทำให้การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมยังทำได้ลำบาก ยิ่งต้องไปเรียนรู้ภาษาของคนท้องถิ่นอีกก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่าการส่งมิชชันนารีของไทยส่วนใหญ่ยังเป็นการส่งให้ไปทำ พันธกิจกับคนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ มากกว่าที่จะไปทำงานกับคนต่างชาติในประเทศนั้นๆ
ประการที่สอง การส่งมิชชันนารีไปทำพันธกิจในต่างประเทศนั้นต้องมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องจ่ายอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน คริสตจักรไทยโดยทั่วไปยังไม่เติบโตและมีเงินมากนัก อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจและค่าเงินของประเทศไทยก็ไม่ได้สูงกว่าประเทศเหล่านั้น ที่เราจะส่งไป หรือถ้าสูงกว่าก็ไม่มากนัก ฉะนั้น ส่วนใหญ่การส่งมิชชันนารีของคริสตจักรไทยจึงยังต้องอยู่ในรูปของการร่วมมือ กับคริสตจักรหรือองค์กรต่างประเทศ
ประการสุดท้าย คริสตจักรไทยโดยส่วนใหญ่ยังเห็นว่า ภายในประเทศเองก็ยังประกาศและก่อตั้งคริสตจักรไม่ทั่วถึง ยังมีคนอีกมากที่ไม่รู้จักพระเจ้า จำนวนคริสเตียนยังมีน้อยมาก ไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ จึงยังไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องรีบคิดถึงงานพันธกิจมิชชั่น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคทั้งในด้านภาษา ทุนทรัพย์ และทัศนคติ แต่ถึงกระนั้นก็ยังต้องขอบคุณพระเจ้าที่งานมิชชันของคริสตจักรไทยได้เริ่ม ขึ้นแล้ว และกำลังขยายตัวเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
คริสเตียนไทยในต่างประเทศตั้งคริสตจักรไทย
ปรากฎการณ์หนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ไม่เพียงแต่คริสตจักรไทยส่งมิชชันนารีไปตั้งคริสตจักรไทยในต่างแดนเท่านั้น แต่คริสเตียนไทยที่ตั้งรกรากอยู่ในต่างประเทศก็ได้ตั้งคริสตจักรเพื่อคนไทย ด้วยกันเอง แต่ก็มีเหมือนกันที่คริสตจักรของคนในประเทศนั้นเห็นว่ามีคนไทยไปอาศัยอยู่ มากก็เลยเปิดพันธกิจเพื่อประกาศกับคนไทยโดยเฉพาะ แล้วภายหลังก็กลายเป็นคริสตจักรไทย
จะว่าไปแล้ว คนไทยคนแรกที่ตั้งคริสตจักรในต่างประเทศก็คือ คู่แฝดสยาม อินกับจัน นั่นเอง มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ระบุว่า ในปีค.ศ.1845 เมื่อแฝดสยามอิน-จันสร้างบ้านหลังใหญ่ที่เมาท์แอรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาทั้งสองได้บริจาคที่ดินส่วนหนึ่งเพื่อสร้างโบสถ์ไวท์เพลนส์ (White Plains Baptist Church) และพวกเขายังเป็นอาสาสมัครร่วมลงแรงสร้างโบสถ์อีกด้วย ในประวัติยังบอกว่าทั้งสองช่วยกันตัดต้นไม้ ลากไม้ และมุงหลังคาโบสถ์เองเลยทีเดียว
ประเทศอื่นที่มีคริสตจักรไทยตั้งอยู่มากที่ สุดคงจะเป็นใครอื่นไม่ได้นอกจากประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีคนไทยไปตั้งรกรากอยู่ที่นั่นมาก ซึ่งขอประมวลดังนี้
ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ก็มีคริสตจักรไทยเอ้าท์รีช เริ่มก่อตั้งในปีค.ศ. 1979 รับใช้ครอบครัวผู้เชื่อและผู้สนใจในเขตพาซาดีน่า มลรัฐแคลิฟอเนีย มานานกว่า 20 ปี ปัจจุบันมีสองแห่งคือ คริสตจักรไทยเอ้าท์ริชพาซาดีน่า ศิษยาภิบาลอาวุโสคือ ศจ. ดร.วิชาญ ฤทธินิมิต และศิษยาภิบาลคือ ศจ. โกศล ศรีภิญโญ และคริสตจักรไทยเอ้าท์ริชแวนนายส์ ศิษยาภิบาลคือ อาจารย์วันชัย วุฒินันท์ ใช้สถานที่ของ Trinity Baptist Church ในพาซาดีน่า แคลิฟอเนีย นอกจากนี้ยังมีคริสตจักรนิวไล้ฟ์ออฟนาซารีน (New Life Church of The Nazarene) คริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียนในสหรัฐอเมริกา (First Thai Presbyterian Church in The USA) คริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียนแห่งซานโฮเซ (First Thai Presbyterian Church of San Jose) ใช้สถานที่ร่วมกับ คริสตจักร Foothill Presbyterian Church, คริสตจักรฟรีวิวแบ๊บติสต์ (Freeviewl Baptist Church) , คริสตจักรพระกิตติคุณแอลมอนเต้ (Prakittikun Church of El Monte), คริสตจักรพันธกิจ (Pantakit Church), คริสตจักรไทย แคลิฟอร์เนีย (Thai Church in California), องค์การประกาศข่าวประเสริฐเพื่อชาวไทย (Thai Evangelical Mission), คริสตจักรร่มพระคุณ (Thai Evangelical Presbyterian Church), คริสตจักรไทยมิชชั่น (Thai Mission Church), คริสตจักรไทยเซเว่นเดย์แอ็ดเวนติสแห่งแคลิฟอร์เนียภาคใต้ (Thai Seventh Day Adventist Church of Southern California), คริสตจักรรวมพระพร (Thailand Christian Fellowship Church), คริสตจักรพระสิริ (Prasiri Church, USA-Thai Church of Glorious God), คริสตจักรไทย-ลาวแบ๊บติสต์ (Thai-Lao Baptist Church)
ที่รัฐอิลินอยส์ มี คริสตจักรไทยในชิคาโก (Thai Community Church of Chicago), คริสตจักรไทยเพรสไบทีเรียนแห่งชิคาโก (Thai Presbyterian Church of Chicago)
ที่รัฐเนวาด้า มีคริสตจักรกลุ่มไทยสามัคคีธรรม (Thai Fellowship Group in Las Vegas)
ที่รัฐนิวยอร์ค มีคริสตจักรชาวไทยนิวยอร์ค (Chour-Thai Reform Church of Greater New York), คริสตจักรไทยเพรสไบทีเรียน (Presbyterian Church Thai Fellowship in Astoria), คริสตจักรมหาพร นครนิวยอร์ค (Thai Community Mahaporn Alliance Church)
ที่รัฐเทนเนสซี มีคริสตจักรลาว-ไทย แบ๊บติสต์แสงสว่าง (Light House Lao-Thai Baptist Church)
ที่รัฐเท็กซัส มี คริสตจักรไทยที่หนึ่งเพรสไบทีเรียน (First Presbyterian Church-Thai Fellowship), คริสตจักรที่ไทยเพรสไบทีเรียน (First Thai Presbyterian Church), คริสตจักรบางกอก (Inwood Baptist Thai Mission), คริสตจักรดัลลัส (Thai Dallas Baptist Church), คริสตจักรไทยลาว (Thai Lao Baptist Church) คริสตจักรไทยเพรสไบทีเรียนในฟอร์ทเวิร์ท (Thai Prebyterian Church), คริสตจักรไทยนานาชาติ (Thai International Baptist Church of DFW) ใช้สถานที่ร่วมกับคริสตจักร Lamar Baptist Church
ที่รัฐเวอร์จิเนีย มีคริสตจักร Barcroft Bible Church Thai Fellowship และคริสตจักรไทยวอชิงตัน ดีซี (Thai Church Washington DC)
นอกจากประเทศสหรัฐแล้ว ในประเทศอื่นก็มีคริสเตียนไทยที่ได้ก่อตั้งคริสตจักรไทยขึ้นมาอีกด้วย เช่น ในประเทศเยอรมัน ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
สรุป
จากพัฒนาการทั้งหมดที่เห็นในภาพรวม ทำให้เราตระหนักได้อย่างชัดเจนว่าคริสตจักรไทยกำลังเข้าสู่ความเป็นสากลมาก ขึ้นเรื่อยๆ และลักษณะของความสัมพันธ์ก็เริ่มมีการเปลี่ยนไป โดยจากเดิมที่ความสัมพันธ์กับคริสตจักรสากลเป็นไปในเชิงของการรับจากต่าง ประเทศแต่ฝ่ายเดียวมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการรับข่าวประเสริฐ รับมิชชันนารีต่างประเทศ รับทุนทรัพย์สนับสนุน รับความรู้และวิธีการต่างๆ ต่อมาคริสตจักรไทยก็เริ่มเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ร่วมงานและผู้ให้แก่คริสตจักร สากลมากขึ้นเรื่อยๆ นี่แสดงถึงความเจริญเติบโตที่น่าขอบคุณพระเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ขอพระเจ้าช่วยเราที่จะคิดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ คิดสากลขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวันหนึ่งคริสตจักรไทยจะเปลี่ยนจากผู้รับอย่างเดียว กลายเป็นประเทศผู้ให้แก่คริสตจักรสากลอย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ